กองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Division of Central Administration , Maejo University
สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ชู ม.แม่โจ้ ปั้นนักศึกษาสู่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ พร้อมดึงงานวิจัย-นวัตกรรมต่อยอดเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ
ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนา อววน. สำนักงานปลัดกระทรวง อว. พร้อมด้วย ศ.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และ รศ.ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์ ผศ.ไชยยันต์ ชนะพรมมา คณะกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง (Reinventing University) ประจำปีงบประมาณ 2567 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ โดยมี รศ.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ พร้อมนำเยี่ยมชมผลการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ณ อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหารรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันเกษตรอัจฉริยะในประเทศไทย มีหลักสูตรด้านวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรม เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ และมีการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง และได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Agriculture) ประกอบกับจุดเด่นในด้านเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ประกอบการและหน่วยงานทุกภาคส่วน มาใช้เป็นกลไกในการดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร พร้อมทั้งสนับสนุนนักศึกษาที่สนใจเป็นผู้ประกอบการให้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สนใจมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงสามารถสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์เพื่อสร้างผลงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นด้าน ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความพร้อมและประสบการณ์ในการพัฒนาผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้นโยบายสู่การเป็น Entrepreneurial University ผ่านกลไกระบบนิเวศในการสนับสนุนผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัย และจากผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขยายผลสู่การสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ MJU Agri smart startup Academy จะเป็นการเสริมสร้างและผลักดันให้มหาวิทยาลัยเกิดผู้ประกอบการใหม่จากฐานนักศึกษา ภายใต้ระบบนิเวศของมหาวิทยาลัยที่มีการเชื่อมโยงและผลักดันผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาการเป็นผู้ประกอบการและการจัดโปรแกรมการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่นักศึกษาอย่างเป็นระบบศ.ศันสนีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้วางรากฐานกลไกและระบบเพื่อผลักดันผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญาจากองค์ความรู้ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมาเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน เพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสร้างผู้ประกอบการใหม่ อีกทั้ง สร้างกำลังคนและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และพัฒนาทักษะของบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต จะเห็นว่า จากการดำเนินการดังกล่าว ในปีนี้ มหาวิทยาลัยได้นำผลงานวิจัยยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จำนวน 13 ผลงาน ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย และกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในวงกว้าง นอกจากนี้ อีกหนึ่งความสำเร็จที่โดดเด่น คือ การผลักดันการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิพันธุ์พืช จำนวน 3 คำขอในสหรัฐอเมริกา ต่อสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา (USPTO) จากผลงานการพัฒนาพันธุ์ดอกปทุมมา และการปรับปรุงพันธุ์ระหว่างปทุมมาและกระเจียวพลอยไพลิน ได้แก่ แม่โจ้กรีนเพิร์ล แม่โจ้ไวท์เพิร์ล และแม่โจ้พิงค์เพิร์ล และได้ร่วมกับสถานประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาไม้ประดับ เพื่อวางแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป“คณะกรรมการฯ เห็นว่า ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การพัฒนาทักษะด้านความเป็นผู้ประกอบการ ควรต้องบูรณาการร่วมกันทั้งระบบ โดยเสริมเข้าไปในหลักสูตรรายวิชาทั่วไป (GenED) รวมถึงควรมีระบบการประเมินและเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะของผู้สอนและนักศึกษา เพื่อเสริมทักษะและทัศนคติในการเป็นผู้ประกอบการ และสุดท้ายควรเชื่อมโยงหลักสูตรเข้าสู่ระบบคลังหน่วยกิต (credit bank) เพื่อสะสมหน่วยกิตและผลการศึกษา ตามนโยบายกระทรวง อว. รวมถึง ควรประเมินความคุ้มค่า ผลกระทบ และความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้น” ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวที่มา : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
3 เมษายน 2568     |      13
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567
วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 นางตรีรัตน์ มาร์คว๊าร์คเสน หัวหน้างานประสานงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนเข้าร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมีนายวันนี นนท์ศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานและ นายฮิโรยาสุ ซาโต้ รองประธานและประธานส่วนการศึกษา คณะกรรมการฝ่ายความช่วยเหลือสังคม ของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เป็นผู้มอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567 ในการนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับทุนจำนวน 3ทุน ระดับปริญญาตรี จำนวน2ทุน ปริญญาโทจำนวน1 ทุน ซึ่งเป็นทุนการศึกษาแบบให้เปล่าและไม่มีข้อผูกพันใด ๆ ที่จัดสรรให้แก่นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ที่ศึกษาอยู่ในคณะหรือสาขาวิชาต่าง ๆ ทุกสาขาวิชา และเฉพาะสาขาวิชาทางด้านสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ ม.แม่โจ้ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ม.สงขลานครินทร์ และ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงใหม่ โดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ได้จัดสรรเงินทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวนทุนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา เป็นระยะเวลา 4 ปีการศึกษา และจัดสรรเงินทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวนทุนละ 50,000 บาทต่อปีการศึกษา เป็นระยะเวลา 2 ปีการศึกษา และต่อมาในปีการศึกษา 2567 ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาเพิ่มเติมจากเดิม โดยจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีที่ศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (วิทยาเขตบางพระ) ม.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ศูนย์นนทบุรี) ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ศูนย์เทคนิคกรุงเทพฯ) และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เพื่อเป็นทุนการศึกษาตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร ปีการศึกษาละ 25 ทุน จำนวนทุนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา รวมทุนการศึกษาที่หอการค้าญี่ปุ่น–กรุงเทพฯ จัดสรรให้แก่นิสิต นักศึกษา จำนวนปีการศึกษาละ 50 ทุน ณ ห้องบอลรูม โรงแรมแบรนด์ กรุงเทพฯ
3 เมษายน 2568     |      9
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 08.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี , รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดี เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวเปิดการประชุม และรายงานผลการดำเนินงานของ ทปอ. รวมทั้งร่วมพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิก ทปอ. โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และผู้แทนจาก 32 สถาบันเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
17 มีนาคม 2568     |      102
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงานเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น และร่วมแสดงความยินดีเนื่องในวันชาติญี่ปุ่น (Japan National Day)
#ภารกิจผู้บริหารวันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะแห่งญี่ปุ่น เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา หรืองานวันชาติญี่ปุ่น ตามคำเชิญของนายฮาราดะ มาซารุ กงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ ณ ห้องสุเทพฮอลล์ โรงแรมเชียงใหม่แมริออทโฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่วันชาติญี่ปุ่น (National Day of Japan) ตรงกับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ โดยประเทศญี่ปุ่นมีธรรมเนียมถือเอาวันพระราชสมภพของจักรพรรดิองค์ปัจจุบันเป็นวันชาติ และเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 วันชาติญี่ปุ่นจึงถูกกำหนดให้ตรงกับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของรัชสมัยเรวะ (Reiwa Era) ซึ่งหมายถึง “ความสงบสุขอันรุ่งเรือง”
17 มีนาคม 2568     |      544
การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2568 วันพุธที่ 22 มกราคม 256
การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2568 วันพุธที่ 22 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป โดยในครั้งนี้ มีกิจกรรมก่อนการประชุม ดังนี้ - พิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณ ประเภท "ตึกอาคาร เพื่อคนทั้งมวล" จาก "Thailand Friendly Design Expo 2024 : มหกรรมอารยสถาปัตย์ นวัตกรรมสุขภาพ และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 8" (คณะสถาปัตย์กรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม) - พิธีมอบโล่รางวัลชนะเลิศโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567 ระดับประเทศ Best of the best ประเภทกินดี โดยทีม "บ้านปูนา อ่องปูนา" (คณะผลิตกรรมการเกษตร)
22 มกราคม 2568     |      267
การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2568 วันพุธที่ 22 มกราคม 256
การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2568 วันพุธที่ 22 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป โดยในครั้งนี้ มีกิจกรรมก่อนการประชุม ดังนี้ - พิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณ ประเภท "ตึกอาคาร เพื่อคนทั้งมวล" จาก "Thailand Friendly Design Expo 2024 : มหกรรมอารยสถาปัตย์ นวัตกรรมสุขภาพ และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 8" (คณะสถาปัตย์กรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม) - พิธีมอบโล่รางวัลชนะเลิศโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567 ระดับประเทศ Best of the best ประเภทกินดี โดยทีม "บ้านปูนา อ่องปูนา" (คณะผลิตกรรมการเกษตร)
22 มกราคม 2568     |      143
การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568
การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่  1/2568 เมื่อวันพุธที่ 8 มกราคม 2568 เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป อธิการบดีได้เป็นประธานที่ประชุม และมีกิจกรรมก่อนการประชุม ดังนี้ - พิธีมอบเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณ จากการได้รับคัดเลือก ให้เป็นหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่นด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน (กองพัฒนานักศึกษา) - พิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (กองแผนงาน) - พิธีมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี กับ ผศ.ดร.ปรีดา  นาเทเวศน์ ที่ได้เข้ารับการดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568
10 มกราคม 2568     |      163
กองกลาง และเครือข่ายงานบริหารธุรการ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านงานสารบรรณ ภายใต้ตัวข้อ “กระบวนการบริหารจัดการเอกสาร”
      วันจันทร์ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๗ กองกลาง และเครือข่ายบริหารและธุรการ มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านงานสารบรรณ ภายใต้ตัวข้อ “กระบวนการบริหารจัดการเอกสาร” เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น ๕ โดยรองอธิการบดี (รองศาสตราจารย์จักรพงษ์  พิมพ์พิมล) และนางพัชรี  คำรินทร์  ผู้อำนวยการกองกลาง  ได้ร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยพะเยา ประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร (รองศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก  ธีระภูธร) , ผู้ช่วยอธิการบดี (รองศาสตราจารย์ ดร. พณินทรา ธีรานนท์) , รองศาสตราจารย์ ดร.วรวรรธน์ ศรียาภัย ประธานหลักสูตรปริญญาเอก ปร.ด.(ภาษาไทย) คณะศิลปศาสตร์ , ผู้อำนวยการกองกลาง (นางณัฐธิดา  ชาวน่าน) , นางสาวอุณาโลม อนุพันธ์ หัวหน้างานธุรการ กองกลาง และคณะศึกษาดูงาน       ในการนี้ ได้เชิญผู้แทนผู้อำนวยการจากสำนักงานคณบดี ๓ ท่าน ร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับระบบการเสนอเอกสาร ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการประชุม ระบบไปรษณีย์ และกระบวนการในการจัดทำ MOU รวมถึงภารกิจของสภาพนักงาน และมหาวิทยาลัยพะเยาได้ขอใช้ห้องประชุมเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ จากการศึกษาดูงาน เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น ๕ อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย 
23 ธันวาคม 2567     |      1765
กองกลาง เข้าร่วมโครงการสัมมนาเรื่องการทบทวนแผนกลยุทธ์และจัดทำแผนปฏิบัติการสำนักงานมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
          วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 กองแผนงาน สำนักงานมหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการสัมมนาเรื่องการทบทวนแผนกลยุทธ์และจัดทำแผนปฏิบัติการสำนักงานมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขึ้น โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาและได้มอบนโยบายและทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย และสำนักงานมหาวิทยาลัย มีคณะผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนักงานคณะ  ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนงาน หัวหน้าหน่วยงาน เข้าร่วมสัมมนา ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการนี้ ผู้อำนวยการกองกลาง พร้อมหัวหน้างานในกองกลาง ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย เพื่อรับทราบแนวทาง นโยบาย ในการจัดทำแผนของหน่วยงานให้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยต่อไป
2 ธันวาคม 2567     |      426
การประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาระบบงานบริหารและธุรการ ครั้งที่ 12 “พลิกโฉมการทำงานในยุคดิจิทัล: โอกาสและความท้าทาย ในการพัฒนาระบบงาน” วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567
การประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาระบบงานบริหารและธุรการครั้งที่ 12 “พลิกโฉมการทำงานในยุคดิจิทัล: โอกาสและความท้าทายในการพัฒนาระบบงาน” (Digital Age Work Transformation: Seizing Opportunities and Overcoming Challenges in Workflow Development) ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี         ผู้อำนวยการกองกลาง (นางพัชรี คำรินทร์) เข้าร่วมการประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาระบบงานบริหารและธุรการ ครั้งที่ 12 “พลิกโฉมการทำงานในยุคดิจิทัล: โอกาสและความท้าทายในการพัฒนาระบบงาน” (Digital Age Work Transformation: Seizing Opportunities and Overcoming Challenges in Workflow Development) จัดโดย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ เครือข่ายพัฒนาระบบงานบริหารและธุรการ ที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) โดยในวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2567 มีหัวข้อในการอบรม ดังนี้เวลา 09.30 น. - 11.00 น.      - บรรยาย Tiktok Content Creator and PR Marketing โดย คุณณรงค์ วงค์ไชย งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยพะเยา เวลา 11.00 น.      - บรรยาย เรื่อง โอกาสและความท้าทายในการพัฒนาระบบงาน โดย คุณปัทมา จักษุรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายเครือข่ายและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน ปขมท. เวลา 13.00 น.      - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง PSU E-Document ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมรัฐบาลดิจิทัล        โดย ทีมบุคลากรจากนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #การประชุมวิชาการ#งานบริหาร#ธุรการ#ยุคดิจิทัล#การพัฒนางาน#มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี#เครือข่ายพัฒนาระบบงาน#ปขมท#DigitalAge#WorkflowDevelopment Cr : ภาพจากครือข่ายพัฒนาระบบงานบริหารและธุรการ ที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.)
26 พฤศจิกายน 2567     |      172
การประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาระบบงานบริหารและธุรการ ครั้งที่ 12 “พลิกโฉมการทำงานในยุคดิจิทัล: โอกาสและความท้าทาย ในการพัฒนาระบบงาน” (Digital Age Work Transformation: Seizing Opportunities and Overcoming Challenges in Workflow Development)
       วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ผู้อำนวยการกองกลาง (นางพัชรี คำรินทร์) เข้าร่วมการประชุมวิชาการ เครือข่ายพัฒนา ระบบงานบริหารและธุรการ ครั้งที่ 12 “พลิกโฉมการทำงานในยุคดิจิทัล: โอกาสและความท้าทายในการพัฒนาระบบงาน” (Digital Age Work Transformation: Seizing Opportunities and Overcoming Challenges in Workflow Development) จัดโดย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ เครือข่ายพัฒนาระบบงานบริหารและธุรการ ที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีหัวข้อในการอบรม ดังนี้ เวลา 09.30 น. - 11.00 น.- บรรยายเรื่อง "กฏหมายปกครอง" กับการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา เวลา 13.00 น. - 16.30 น.- บรรยาย เรื่อง ยกระดับประสิทธิภาพงานด้วยเทคโนโลยี Generative AI มาร่วมเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ในการทำงานในยุคดิจิทัล เพื่อเตรียมพร้อมสู่การพัฒนาระบบงานที่มีประสิทธิภาพสูงกันเถอะ!#การประชุมวิชาการ#งานบริหาร#ธุรการ#ยุคดิจิทัล#การพัฒนางาน#มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี#เครือข่ายพัฒนาระบบงาน#ปขมท#DigitalAge#WorkflowDevelopmentCr : ภาพจากสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
21 พฤศจิกายน 2567     |      160
เยือนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบผู้บริหาร และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐ
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567       คณะกรรมการเครือข่ายพัฒนาระบบงานบริหารและธุรการ ได้มีกำหนดจัดการประชุมวิชาการเครือข่ายประจำปี ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำโดยโดยนายเรวัต  รัตนกาญจน์ ประธานที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) และ นายสุจินดา แซ่ฮั้น ประธานเครือข่ายคณะกรรมการพัฒนาระบบงานบริหารและธุรการ พร้อมด้วยคณะกรรมการ และผู้อำนวยการกองกลาง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (นางพัชรี  คำรินทร์) กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ เครือข่ายฯ ได้ร่วมเดินทางไปเข้าพบผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมีรายละเอียด ดังนี้ เวลา 09.00 - 09.30 น.         - พบผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมอบของที่ระลึก โดยนายเรวัต  รัตนกาญจน์ ประธานที่ประชุม สภาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) ณ ห้องประชุมวารินชำราบ ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเวลา 09.40 - 12.00 น.         - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐเพื่อสนับสนุนการจัดทำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และหน่วยงานของรัฐ เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 โดยกรรมการ เครือข่ายพัฒนาระบบงานบริหารและธุรการเวลา 13.30 - 15.30 น.         - เยี่ยมชมห้องสมุด มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (พื้นที่บริการ 24 ชม./ระบบ solar roof top/การผลิตสื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้ และห้องสมุดสีเขียว)
20 พฤศจิกายน 2567     |      193
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอแสดงความเสียใจกับการจากไปของ ดร.ปัญญา โชติเทวัญ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่ม สหฟาร์ม จำกัด
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.30 น. อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (รศ.ดร.วีระพล ทองมา) รองอธิการบดี (รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง) รักษาการแทนรองอธิการบดี (ผศ.ดร.ประภากร ธาราฉาย) ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา (นางอรณุตรา จ่ากุญชร) และหัวหน้างานอำนวยการ กองกลาง (นางสาวธันยรัศมิ์ วงศ์เกษม) และนางสาวปุณณภา แม้นพยัคฆ์ เลขานุการอธิการบดี วางพวงหรีดในพิธีบำเพ็ญกุศลศพ เพื่อไว้อาลัยแด่ ดร.ปัญญา โชติเทวัญ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่ม สหฟาร์ม จำกัด และแสดงความเสียใจกับครอบครัวโชติเทวัญ เวลา 18.00 น. ณ บ้านสุขาวดี อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี         จึงขอเชิญชวนผู้รู้จักคุ้นเคย ร่วมพิธีสวดพระอภิธรรม ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ย. - 18 ธ.ค. 67 ณ บ้านสุขาวดี อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
19 พฤศจิกายน 2567     |      278
ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (รศ.ดร.วีระพล ทองมา) รองอธิการบดี (รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง) รักษาการแทนรองอธิการบดี (ผศ.ดร.ประภากร ธาราฉาย) ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา (นางอรณุตรา จ่ากุญชร) และหัวหน้างานอำนวยการ กองกลาง (นางสาวธันยรัศมิ์ วงศ์เกษม) และบุคลากรกองกลาง ร่วมทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้หน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พร้อมลงนามถวายพระพร ให้ทรงหายจากพระอาการประชวร และมีพระพลานามัยแข็งแรงในเร็ววัน ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานครฯ
19 พฤศจิกายน 2567     |      123
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี พุทธศักราช 2567 ณ วัดยั้งเมิน ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2567 พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง นำผ้าพระกฐินพระราชทานของมูลนิธิโครงการหลวง ไปถวายแด่พระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ประจำปี 2567 ณ ที่ชุมนุมสงฆ์ วัดยั้งเมิน ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าพระกฐินแก่มูลนิธิโครงการหลวง โอกาสนี้ องคมนตรี ได้มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีของโรงเรียนวัดยั้งเมิน จำนวน 14 ทุน ในการนี้ อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วยบุคลากร กองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี พุทธศักราช 2567
11 พฤศจิกายน 2567     |      148
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”
วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 ผู้อำนวยการกองกลาง ได้มอบหมายให้หัวหน้างานนำทีมบุคลากรกองกลาง เข้าร่วม “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” ณ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และรวมวางพวงมาลาในนามสำนักงานมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมรำลึกถึงอธิการบดีคนแรก ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยในพิธีดังกล่าว ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในงาน  นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้แต่ละรุ่น และนักศึกษา ร่วมรำลึกอธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็นครู”ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่างเป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไปจึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่าการเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้” ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรีวังซ้ายได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน”อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบันขอบคุณข้อมูลจาก MJU RADIO FM 95.50 MHzสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ : วิทยุบริการสาธารณะ
31 ตุลาคม 2567     |      191
ส่งมอบสิ่งของบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครัวกลาง พม.เชียงใหม่ เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม
            เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2567 รองศาสตราจารย์ว่าที่ รต. ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ และ อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยบุคลากรกองกลาง และบุคลากรกองบริหารทรัพย์สิน เป็นผู้แทนสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งมอบสิ่งของเพื่อสนับสนุน ครัวกลาง พม.เชียงใหม่ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ข้าว 33 มัด ไข่ไก่ 25 แผง ซอสปรุงรสและน้ำมัน 30 ขวด น้ำตาลทราย 10 กก. ฟักทองพันธุ์บัทเตอร์นัทประกอบอาหาร และกล่องใส่อาหาร 10 แพ็ค ณ โถง ชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
8 ตุลาคม 2567     |      149
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 (The 15th CUPT-CRISU Conference 2024) ภายใต้หัวข้อ “Charting the Path to Sustainable Universities: A Holistic Approach to ESG Integration”
ในระหว่างวันที่ 3-4 ตุลาคม 2567 ที่โรงแรมอโนมา แกรนด์กรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี  นางสาวกวิสรา แก้ววิทยาลาภ นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 (The 15th CUPT-CRISU Conference 2024) ภายใต้หัวข้อ “Charting the Path to Sustainable Universities: A Holistic Approach to ESG Integration” ซึ่งการจัดประชุมดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจในการบูรณาการหลักการ E (Environment) S (Social) G (Governance) เข้ากับชุมชนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นอธิการบดี คณบดี ผู้บริหาร และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยสมาชิกของทั้ง 2 ประเทศ
3 ตุลาคม 2567     |      135