กองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Division of Central Administration , Maejo University
สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ชู ม.แม่โจ้ ปั้นนักศึกษาสู่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ พร้อมดึงงานวิจัย-นวัตกรรมต่อยอดเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ
ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนา อววน. สำนักงานปลัดกระทรวง อว. พร้อมด้วย ศ.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และ รศ.ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์ ผศ.ไชยยันต์ ชนะพรมมา คณะกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง (Reinventing University) ประจำปีงบประมาณ 2567 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ โดยมี รศ.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ พร้อมนำเยี่ยมชมผลการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ณ อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหารรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันเกษตรอัจฉริยะในประเทศไทย มีหลักสูตรด้านวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรม เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ และมีการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง และได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Agriculture) ประกอบกับจุดเด่นในด้านเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ประกอบการและหน่วยงานทุกภาคส่วน มาใช้เป็นกลไกในการดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร พร้อมทั้งสนับสนุนนักศึกษาที่สนใจเป็นผู้ประกอบการให้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สนใจมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงสามารถสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์เพื่อสร้างผลงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นด้าน ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความพร้อมและประสบการณ์ในการพัฒนาผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้นโยบายสู่การเป็น Entrepreneurial University ผ่านกลไกระบบนิเวศในการสนับสนุนผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัย และจากผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขยายผลสู่การสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ MJU Agri smart startup Academy จะเป็นการเสริมสร้างและผลักดันให้มหาวิทยาลัยเกิดผู้ประกอบการใหม่จากฐานนักศึกษา ภายใต้ระบบนิเวศของมหาวิทยาลัยที่มีการเชื่อมโยงและผลักดันผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาการเป็นผู้ประกอบการและการจัดโปรแกรมการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่นักศึกษาอย่างเป็นระบบศ.ศันสนีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้วางรากฐานกลไกและระบบเพื่อผลักดันผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญาจากองค์ความรู้ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมาเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน เพื่อพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสร้างผู้ประกอบการใหม่ อีกทั้ง สร้างกำลังคนและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และพัฒนาทักษะของบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต จะเห็นว่า จากการดำเนินการดังกล่าว ในปีนี้ มหาวิทยาลัยได้นำผลงานวิจัยยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จำนวน 13 ผลงาน ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย และกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในวงกว้าง นอกจากนี้ อีกหนึ่งความสำเร็จที่โดดเด่น คือ การผลักดันการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิพันธุ์พืช จำนวน 3 คำขอในสหรัฐอเมริกา ต่อสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา (USPTO) จากผลงานการพัฒนาพันธุ์ดอกปทุมมา และการปรับปรุงพันธุ์ระหว่างปทุมมาและกระเจียวพลอยไพลิน ได้แก่ แม่โจ้กรีนเพิร์ล แม่โจ้ไวท์เพิร์ล และแม่โจ้พิงค์เพิร์ล และได้ร่วมกับสถานประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาไม้ประดับ เพื่อวางแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป“คณะกรรมการฯ เห็นว่า ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การพัฒนาทักษะด้านความเป็นผู้ประกอบการ ควรต้องบูรณาการร่วมกันทั้งระบบ โดยเสริมเข้าไปในหลักสูตรรายวิชาทั่วไป (GenED) รวมถึงควรมีระบบการประเมินและเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะของผู้สอนและนักศึกษา เพื่อเสริมทักษะและทัศนคติในการเป็นผู้ประกอบการ และสุดท้ายควรเชื่อมโยงหลักสูตรเข้าสู่ระบบคลังหน่วยกิต (credit bank) เพื่อสะสมหน่วยกิตและผลการศึกษา ตามนโยบายกระทรวง อว. รวมถึง ควรประเมินความคุ้มค่า ผลกระทบ และความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้น” ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวที่มา : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
3 เมษายน 2568     |      6
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567
วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 นางตรีรัตน์ มาร์คว๊าร์คเสน หัวหน้างานประสานงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนเข้าร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมีนายวันนี นนท์ศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานและ นายฮิโรยาสุ ซาโต้ รองประธานและประธานส่วนการศึกษา คณะกรรมการฝ่ายความช่วยเหลือสังคม ของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เป็นผู้มอบทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประจำปีการศึกษา 2567 ในการนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับทุนจำนวน 3ทุน ระดับปริญญาตรี จำนวน2ทุน ปริญญาโทจำนวน1 ทุน ซึ่งเป็นทุนการศึกษาแบบให้เปล่าและไม่มีข้อผูกพันใด ๆ ที่จัดสรรให้แก่นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ที่ศึกษาอยู่ในคณะหรือสาขาวิชาต่าง ๆ ทุกสาขาวิชา และเฉพาะสาขาวิชาทางด้านสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ ม.แม่โจ้ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ม.สงขลานครินทร์ และ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงใหม่ โดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ได้จัดสรรเงินทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวนทุนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา เป็นระยะเวลา 4 ปีการศึกษา และจัดสรรเงินทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวนทุนละ 50,000 บาทต่อปีการศึกษา เป็นระยะเวลา 2 ปีการศึกษา และต่อมาในปีการศึกษา 2567 ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาเพิ่มเติมจากเดิม โดยจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีที่ศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (วิทยาเขตบางพระ) ม.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ศูนย์นนทบุรี) ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ศูนย์เทคนิคกรุงเทพฯ) และสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เพื่อเป็นทุนการศึกษาตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร ปีการศึกษาละ 25 ทุน จำนวนทุนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา รวมทุนการศึกษาที่หอการค้าญี่ปุ่น–กรุงเทพฯ จัดสรรให้แก่นิสิต นักศึกษา จำนวนปีการศึกษาละ 50 ทุน ณ ห้องบอลรูม โรงแรมแบรนด์ กรุงเทพฯ
3 เมษายน 2568     |      7
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 08.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี , รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดี เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวเปิดการประชุม และรายงานผลการดำเนินงานของ ทปอ. รวมทั้งร่วมพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิก ทปอ. โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และผู้แทนจาก 32 สถาบันเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
17 มีนาคม 2568     |      102
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงานเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น และร่วมแสดงความยินดีเนื่องในวันชาติญี่ปุ่น (Japan National Day)
#ภารกิจผู้บริหารวันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะแห่งญี่ปุ่น เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา หรืองานวันชาติญี่ปุ่น ตามคำเชิญของนายฮาราดะ มาซารุ กงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ ณ ห้องสุเทพฮอลล์ โรงแรมเชียงใหม่แมริออทโฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่วันชาติญี่ปุ่น (National Day of Japan) ตรงกับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ โดยประเทศญี่ปุ่นมีธรรมเนียมถือเอาวันพระราชสมภพของจักรพรรดิองค์ปัจจุบันเป็นวันชาติ และเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 วันชาติญี่ปุ่นจึงถูกกำหนดให้ตรงกับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของรัชสมัยเรวะ (Reiwa Era) ซึ่งหมายถึง “ความสงบสุขอันรุ่งเรือง”
17 มีนาคม 2568     |      543
การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2568 วันพุธที่ 22 มกราคม 256
การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2568 วันพุธที่ 22 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป โดยในครั้งนี้ มีกิจกรรมก่อนการประชุม ดังนี้ - พิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณ ประเภท "ตึกอาคาร เพื่อคนทั้งมวล" จาก "Thailand Friendly Design Expo 2024 : มหกรรมอารยสถาปัตย์ นวัตกรรมสุขภาพ และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 8" (คณะสถาปัตย์กรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม) - พิธีมอบโล่รางวัลชนะเลิศโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567 ระดับประเทศ Best of the best ประเภทกินดี โดยทีม "บ้านปูนา อ่องปูนา" (คณะผลิตกรรมการเกษตร)
22 มกราคม 2568     |      267
การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2568 วันพุธที่ 22 มกราคม 256
การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2568 วันพุธที่ 22 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป โดยในครั้งนี้ มีกิจกรรมก่อนการประชุม ดังนี้ - พิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณ ประเภท "ตึกอาคาร เพื่อคนทั้งมวล" จาก "Thailand Friendly Design Expo 2024 : มหกรรมอารยสถาปัตย์ นวัตกรรมสุขภาพ และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 8" (คณะสถาปัตย์กรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม) - พิธีมอบโล่รางวัลชนะเลิศโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567 ระดับประเทศ Best of the best ประเภทกินดี โดยทีม "บ้านปูนา อ่องปูนา" (คณะผลิตกรรมการเกษตร)
22 มกราคม 2568     |      141
การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568
การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่  1/2568 เมื่อวันพุธที่ 8 มกราคม 2568 เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป อธิการบดีได้เป็นประธานที่ประชุม และมีกิจกรรมก่อนการประชุม ดังนี้ - พิธีมอบเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณ จากการได้รับคัดเลือก ให้เป็นหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่นด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน (กองพัฒนานักศึกษา) - พิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (กองแผนงาน) - พิธีมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี กับ ผศ.ดร.ปรีดา  นาเทเวศน์ ที่ได้เข้ารับการดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568
10 มกราคม 2568     |      162
กองกลาง และเครือข่ายงานบริหารธุรการ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านงานสารบรรณ ภายใต้ตัวข้อ “กระบวนการบริหารจัดการเอกสาร”
      วันจันทร์ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๗ กองกลาง และเครือข่ายบริหารและธุรการ มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านงานสารบรรณ ภายใต้ตัวข้อ “กระบวนการบริหารจัดการเอกสาร” เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น ๕ โดยรองอธิการบดี (รองศาสตราจารย์จักรพงษ์  พิมพ์พิมล) และนางพัชรี  คำรินทร์  ผู้อำนวยการกองกลาง  ได้ร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยพะเยา ประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร (รองศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก  ธีระภูธร) , ผู้ช่วยอธิการบดี (รองศาสตราจารย์ ดร. พณินทรา ธีรานนท์) , รองศาสตราจารย์ ดร.วรวรรธน์ ศรียาภัย ประธานหลักสูตรปริญญาเอก ปร.ด.(ภาษาไทย) คณะศิลปศาสตร์ , ผู้อำนวยการกองกลาง (นางณัฐธิดา  ชาวน่าน) , นางสาวอุณาโลม อนุพันธ์ หัวหน้างานธุรการ กองกลาง และคณะศึกษาดูงาน       ในการนี้ ได้เชิญผู้แทนผู้อำนวยการจากสำนักงานคณบดี ๓ ท่าน ร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับระบบการเสนอเอกสาร ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการประชุม ระบบไปรษณีย์ และกระบวนการในการจัดทำ MOU รวมถึงภารกิจของสภาพนักงาน และมหาวิทยาลัยพะเยาได้ขอใช้ห้องประชุมเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ จากการศึกษาดูงาน เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น ๕ อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย 
23 ธันวาคม 2567     |      1764
ทั้งหมด 39 หน้า