กองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Division of Central Administration , Maejo University
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง5 จังหวัดเชียงใหม่ มอบเครื่องรับวิทยุดิจิตอลแก่ สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กองกลาง ในโครงการวิจัยทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัล DAB+ ในส่วนนภูมิภาค ระยะที่ 1
วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566  ณ ห้องรับรองอินทนิล ชั้น2 สำนักงานมหาวิทยาลัย  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวง รองอธิการบดี   ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช หัวหน้าสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ให้การต้อนรับนายจิรัฐิโชติ อยู่สุข หัวหน้าศูนย์ซ่อมบำรุง/หัวสถานีโครงข่าย สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เชียงใหม่ และทีมงาน ในโอกาสเดินทางมามอบเครื่องรับวิทยุดิจิทัลจำนวน 250 เครื่อง ในโครงการวิจัยทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิทัล DAB+  ในส่วนภูมิภาค ระยะที่ 1โดยโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และสถานีโทรทัศน์กองทัพบก  แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยุทธศาสตร์ที่1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เป้าประสงค์ คือให้มีโครงข่ายแพร่สัญญาณภาพโทรทัศน์และ กระจายเสียงวิทยุระบบดิจิตอลครอบคลุมทั่วประเทศ โดยให้มีระบบวิทยุดิจิตอลให้บริการภายใน 3 ปี  การเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณ วิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิตอลระบบ DAB+ เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการให้บริการวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิตอล และการใช้โครงข่ายและการออกแบบการเชื่อมโยงสัญญาณเพื่อให้สามารถใช้งานคลื่นความถี่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการให้บริการวิทยุในรูปแบบใหม่ทั้งเสียง ภาพ และข้อมูล ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการให้บริการวิทยุในรูปแบบใหม่ทั้งเสียง ภาพ และข้อมูล ตอบสนองความความต้องการการใช้งานของประชาชนเพื่อให้กิจการกระจายเสียงได้ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของประชาชนและการพัฒนาประเทศต่อไปโดยงานความถี่วิทยุในการทดลองหรือทดสอบสำหรับกิจการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพปราศจากการรบกวนซึ่งกันและกัน  สำหรับพื้นที่การกระจายเสียงนั้นจะออกอากาศรายการเดียวกันทุกสถานีส่งที่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา
30 มีนาคม 2566     |      544
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมพิธีศพตามธรรมเนียมของชาวจีน(พิธีกงเต๊ก) คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี
วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ร่วมพิธีศพตามธรรมเนียมของชาวจีน(พิธีกงเต๊ก) คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ผู้ก่อตั้งกองทุน “กองทุนกลุ่มบริษัทสุราทิพย์” เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และได้รับพระราชทานปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา 01.24 น.ของวันที่ 17 มีนาคม 2566 สิริอายุ 80 ปี ณ ศาลากวีนิรมิต วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
24 มีนาคม 2566     |      1018
voice of america ภาคภาษาไทย ร่วมกับ สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ งานอำนวยการ กองกลาง , คณะศิลปศาสตร์ , คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จัดกิจกรรมฉายภภาพยนตร์สารคดีและเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภาพยนตร์สารคดี เรื่อง Who’s My Dad?
เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2566 ที่ผ่าน คุณรัตพล อ่อนสนิท หัวหน้าภาคภาษาไทย VOICE OF AMERICA ประจำกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และ คุณปริชัย ศตะสุข เจ้าหน้าที่ด้านการตลาด ประจำกรุงเทพฯประเทศไทย U.S. Agency for Global Media จัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์สารคดีและเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภาพยนตร์สารคดี เรื่อง Who's My Dad? เรื่องราวเส้นทางชีวิตในการตามหาพ่อของนักแสดงไทยเชื้อสายอเมริกัน มอริส เค ซึ่งหนังสารคดีเรื่องนี้ได้รับการฉายที่อเมริกาและอีก 45 ประเทศทั่วโลกอีกด้วย รวมทั้งการหารือเรื่องขยายความร่วมมือและโอกาสด้านพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษาร่วมกัน โดยได้รับเกียรติจากคณาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจ จากคณะศิลปศาสตร์และคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
11 มีนาคม 2566     |      615
เสียงอเมริกา (Voice of America) ภาคภาษาไทย ประจำกรุงวอชิงตัน เยือนสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันอังคารที่ 7 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี , นางพัชรี คำรินทร์ ผู้อำนวยการกองกลาง , ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช หัวหน้าสถานีวิทยุ และบุคลากรสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมให้การต้อนรับคุณ รัตพล อ่อนสนิท หัวหน้าภาคภาษาไทย วิทยุเสียงอเมริกา (Voice of America) และ ปริชัย ศตะสุข เจ้าหน้าที่ด้านการตลาด U.S. Agency for Global Media ในโอกาสเข้าพบและหารือเรื่องการขยายความร่วมมือด้านกระจายเสียงของรายการที่ผลิตโดย VOICE OF AMERICA ภาคภาษาไทย และรับฟังข้อเสนอแนะต่อการพัฒนารายการ เทคนิค และเนื้อหารายการต่างๆในการที่ร่วมพัฒนาร่วมกันเพื่อผู้ฟังทางสถานีวิทยุกระจายในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อไป ณ ห้องประชุมพวงแสด สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
7 มีนาคม 2566     |      508
กยศ. ร่วมกับ เหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดกิจจกรรมรับบริจาคโลหิต “กยศ.รวมใจปันโลหิต ต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์” ปีที่ 10 ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
วันอังคารที่ 1 มีนาคม 2566  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับนายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับบริจาคโลหิต “กยศ.รวมใจปันโลหิต ต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์” ปีที่ 10   โดยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ร่วมเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โดยได้รับเกียรติจากคุณรุ่งอรุ่ณ ชัยสวัสดิ์ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่กล่าวเปิดงาน , นางสาวเจตสุภา ตันติพิษณุ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายสำนักจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม  สำหรับการจัดโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อการสนับสนุนการจัดหาโลหิตให้แก่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภาการชา่ดไทย เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ได้รับโอกาสจาก กยศ. และบุคคลทั่วไป ได้ร่วมกันทำความดีบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุซลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา โดยมุ่งหวังการปลูกฝังค่านิยม จิตอาสาและการเสียสละตอบแทนสังคมแก่ผู้ที่กู้ยืมเงิน กยศ. อีกทั่งเพื่อเป็นการส่งเสริมความร่วมมืออันดีระหว่าง กยศ. และสถาบันการศึกษาต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่  ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  มหาวิทยาลัยพายัพ  มหาวิทยาลัยราชฎัชเชียงใหม่  ซึ่งโลหิตที่ได้จะนำไปมอบให้แก่สภากาชาดไทยและโรงพยาบาลต่างๆ ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาพยาบาล หรือเพื่อจัดเก็บสำรองไว้ใช้ในยามภาวะขาดแคลน ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
1 มีนาคม 2566     |      347
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2564-2565 (ครั้งที่ 45) วันที่สอง
วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 12.26 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2564-2565 (ครั้งที่ 45) เป็นวันที่สอง ซึ่งมีบัณฑิตจากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จำนวน 1,232 ราย เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีรากฐานทางการเกษตรที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ มีวิสัยทัศน์เป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ” และพร้อมก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ของประเทศในการพัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ ด้วยแผนพัฒนาความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ.2566-2570 “พลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การสร้างบัณฑิตผู้ประกอบการเศรษฐกิจสร้างคุณค่า ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ” ได้ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติจำนวนมาก ด้วยปณิธานที่มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน ซึ่งอัตลักษณ์ที่ชัดเจนของบัณฑิตแม่โจ้ คือ “เป็นนักปฏิบัติทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา” เป็นที่ประทับใจและเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ เป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเจอ เป็นนักจิตอาสา เป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคม นอกจากด้านการผลิตบัณฑิตแล้ว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังได้สนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยที่ต่อยอดองค์ความรู้จนเกิดเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับชาติและนานาชาติ สามารถนำไปช่วยเหลือ พัฒนาภาคการเกษตรของไทยได้อย่างแท้จริงปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนักศึกษาประมาณ 13,500 คน มีการจัดการเรียนการสอน 15 คณะ 3 วิทยาลัย ในทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ (รวมพื้นที่การเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร) โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ, กลุ่มเกษตรศาสตร์ และ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โอกาสนี้ พระราชทานพระโอวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้ “การส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร ในระดับครัวเรือน เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเสถียรภาพทางอาหารของประเทศ เพราะเป็นการเสริมความมั่นคงในระดับฐานรากอย่างแท้จริง ในการนี้ ต้องอาศัยความรู้ในการบริหาร จัดการพื้นที่ ร่วมกับการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบตามศาสตร์พระราชา โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับธรรมชาติ ผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นถิ่น หากบัณฑิตจะได้นำความรู้ที่มีอยู่ ไปปฏิบัติใช้ให้สำเร็จผลดังกล่าวนี้ และสามารถส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติได้อย่างกว้างขวางแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาภาคการเกษตร ทั้งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าและผาสุกมั่นคง ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขออวยพรให้บัณฑิตใหม่ทุกคน และผู้มาร่วมในพิธีนี้ทุกท่าน มีความเจริญสวัสดีทุกเมื่อทั่วกัน”
18 กุมภาพันธ์ 2566     |      658
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2564-2565 (ครั้งที่ 45) วันแรก
วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 12.35 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2564-2565 (ครั้งที่ 45) เป็นวันแรก ซึ่งมีบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จำนวน 1,286 ราย แยกเป็นระดับบัณฑิตศึกษา(ป.โท - ป.เอก) จำนวน 121 คน พระดุษฎีบัณฑิต จำนวน 1 รูป และระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 1,164 คน มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้ารับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ 5 คน และรับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น 5 คน ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีรากฐานทางการเกษตรที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ มีวิสัยทัศน์เป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ” และพร้อมก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม2 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ของประเทศในการพัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ ด้วยแผนพัฒนาความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ.2566-2570 “พลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การสร้างบัณฑิตผู้ประกอบการเศรษฐกิจสร้างคุณค่า ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ” ได้ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติจำนวนมาก ด้วยปณิธานที่มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน ซึ่งอัตลักษณ์ที่ชัดเจนของบัณฑิตแม่โจ้ คือ “เป็นนักปฏิบัติทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา” เป็นที่ประทับใจและเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ เป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเจอ เป็นนักจิตอาสา เป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคม นอกจากด้านการผลิตบัณฑิตแล้ว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังได้สนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยที่ต่อยอดองค์ความรู้จนเกิดเป็นรูปธรรม เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับชาติและนานาชาติ สามารถนำไปช่วยเหลือ พัฒนาภาคการเกษตรของไทยได้อย่างแท้จริงในการนี้นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ (แม่โจ้รุ่น 51 ) อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ รับพระราชทาน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ดิจิทัลและการสหกรณ์ พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 รับพระราชทาน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์ นายรุ่งอรุณ การรัตน์ (แม่โจ้รุ่น 59) ประธานกรรมการบริษัท ซิลเวอร์ ฟาร์ม เซ็นเตอร์ จำกัด รับพระราชทาน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ Mrs.Zhu Guiling (นางจู กุ้ยหลิน) Chairman of Guangxi University of Foreign Languages รับพระราชทาน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์ Mrs. Chen-Ming Cho (นาง เฉิน-หมิง จั๋ว) ประธานกรรมการ Toucheng Leisure Farm รับพระราชทาน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวผู้ได้รับพระราชทานโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565 จำนวน 5 คน ได้แก่ นายสุรเดช ปรีชาหาญ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 45 เจ้าของธุรกิจเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรนายเทพนคร เปี่ยมเพ็ชร์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 47 ที่ปรึกษา สำนักวางแผนผลิตภัณฑ์และโครงการพิเศษ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์นางณิชสาคร พรมลี ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54 กรรมการบริหาร บริษัท สยามสตาร์ ซีดส์ จำกัด และบริษัท บ้านนอกคอกนา จำกัดนายสุวัฒน์ มัตราช ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 55 ปศุสัตว์จังหวัด อำนวยการระดับสูง )ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน วิชาการสัตวบาล)) สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ . ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 64 ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โอกาสนี้ พระราชทานพระโอวาท แก่ผู้สำเร็จการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้" ท่านทั้งหลายคงทราบและตระหนักเป็นอย่างดีแล้ว ถึงการเปลี่ยนแปลงผันผวน อย่างรวดเร็วของสถานการณ์โลก โดยเฉพาะวิกฤติการณ์ด้านอาหาร ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหารให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพนับเป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่งในการนี้ การพัฒนาด้านเกษตรกรรม ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ต้องอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องกำกับเพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งอย่างยั่งยืนจึงขอให้บัณฑิตทุกคนนำสิ่งที่พูดนี้ไปพิจารณา เพื่อร่วมกันสร้างเสถียรภาพทางอาหารให้แก่ประเทศของเรา อันจะนำมาซึ่งความผาสุกมั่นคง และความเจริญก้าวหน้า ทั้งแก่ประชาชนและประเทศชาติสืบไป”
18 กุมภาพันธ์ 2566     |      358
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานกล่าวเปิดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566
วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานกล่าวเปิดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ และเครือข่ายสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดยมี อาจารย์ ดร. ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
31 มกราคม 2566     |      258
สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การต้อนรับคณะทำงานวิศวกรโครงการทดลองออกอากาศวิทยุดิจิตอลส่วนภูมิภาคระยะที่1 ททบ.5
วันอังคารที่ 17 มกราคม 2566 ณ สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช หัวหน้าสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (งานอำนวยการ กองกลาง) ร่วมให้การต้อนคณะทำงาน และวิศวกร โครงการทดลองออกอากาศวิทยุดิจิตอลส่วนภูมิภาคระยะที่1 โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ส่วนกลาง) ในการเข้าการตรวจสอบวัดระบบสัญญาณการกระจายเสียง ก่อนจะเริ่มดำเนินการออกอากาศจริงในเร็วๆนี้
17 มกราคม 2566     |      557
ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย และผู้ติดตามเยือนมหาวิทยาลัยแม่โจ้
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ รองอธิการบดี พร้อมผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การต้อนรับ MrGijs TheunissenDVM ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย และผู้ติดตาม ในโอกาสเดินทางมาเยือนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเยี่ยมคารวะ หารือความร่วมมือทางวิชาการ ณ ห้องรับรองอินทนิล (ชั้น 2) อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยนอกจากนี้ ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย และผู้ติดตาม ได้เข้าศึกษาดูงานศูนย์พัฒนาเห็ดหลินจือและเห็ดสมุนไพร คณะผลิตกรรมการเกษตร และศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ (ไส้เดือนดิน) อีกด้วยAgricultural Counsellor from the Embassy of the Kingdom of Netherlands in Thailand and the company had a Courtesy Visit at Maejo UniversityOn October 20, 2022, Associate Professor Dr. Yanin Opatpatanakit, Vice President, together with the executives of Maejo University welcomed Mr. Gijs Theunissen, DVM, Agricultural Counsellor and the company from the Embassy of the Kingdom of Netherlands of Thailand on the occasion of visiting Maejo University to pay respects and discuss on academic cooperation at Inthanin Room (2nd floor), Office of the University Building.In addition, the delegation from the Embassy of the Kingdom of Netherlands in Thailand visited the Medicinal Mushroom Development Center, Faculty of Agricultural Production and the Natural Agricultural Research and Development Center (Earthworms) as well.
21 ตุลาคม 2565     |      360
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แจ้งรายชื่อผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ และรายชื่อผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แจ้งรายชื่อผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ และรายชื่อผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565ตามที่สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565 มีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้ปริญญากิตติมศักดิ์ ประจำปี 2565 ในชั้นปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จำนวน 3 ราย และตามมติคณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ในการประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2565 ได้เสนอชื่อศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565จำนวน 5 ราย มหาวิทยาลัยจึงขอแจ้งรายชื่อผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ และผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565 ดังนี้รายชื่อผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 3 ราย นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์   สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ดิจิทัลและการสหกรณ์ พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์   สาขาวิชาบริหารศาสตร์ นายรุ่งอรุณ การรัตน์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์    สาขาวิชาสัตวศาสตร์รายชื่อผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2565 จำนวน 5 ราย นายสุรเดชปรีชาหาญศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 45 นายเทพนครเปี่ยมเพ็ชรศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 47 นางณิชสาครพรมลีศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 54ดร.สุวัฒน์ มัตราช ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 55ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 64
13 ตุลาคม 2565     |      881
ทั้งหมด 3 หน้า